พฤติกรรมผู้บริโภค 2024 ของนักช้อปออนไลน์ แต่ละช่วงวัยที่แม่ค้าออนไลน์ควรรู้
“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ประโยคนี้ยังคงใช้ได้เสมอ ๆ โดยเฉพาะในมุมมองของธุรกิจที่ ‘ลูกค้า’ คือตัวแปรสำคัญ ธุรกิจไหนเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีย่อมมีความได้เปรียบในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า วันนี้เราเลยเจาะพฤติกรรมผู้บริโภค 2024 แต่ละช่วงวัยมาให้ดูเพื่อช่วยให้ผู้ขายวิเคราะห์และเข้าใจความต้องการลูกค้าของเราได้อย่างตรงใจ ไปดูกันเลย
เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) หรือคนที่เกิดในปี 1946-1964
จากผลสำรวจของ NRF พบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเจนเบบี้บูมเมอร์ 47% ท่องโลกโซเชียลมีเดียสูงขึ้นเพื่อลดความโดดเดี่ยวโดยคนกลุ่มนี้ให้ความสนใจไปที่เรื่องสุขภาวะ อาหารการกินและแฟชั่น จากผลสำรวจยังพอว่านักช้อปปิ้งสูงวัยเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อสินค้าออนไลน์สูงขึ้นถึง 67% สาเหตุหนึ่งจากการแพร่ระบาด โดย 83% รู้สึกมีความสุขกับขั้นตอนการซื้อที่ง่าย ผู้ขายออนไลน์จึงควรมั่นใจว่าช่องทางออนไลน์ที่ขายอยู่สะดวกซื้อง่ายในทุกขั้นตอน
เจเนอเรชั่นเอกซ์ (Gen X) หรือคนที่เกิดในปี 1965-1980
- Gen X พึ่งพาตัวเองและมักจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้สมาชิกภายในบ้าน หากแบรนด์หรือร้านค้ามีของสมมนาคุณหรือการ์ดสะสมคะแนนคนกลุ่มนี้จะเก็บจนครบเป็นกลุ่มแรก ๆ และเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่จงรักภัคดีกับแบรนด์สินค้าที่ใช้มายาวนานและเป็นกลุ่มลูกค้าที่ได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกระดับพรีเมี่ยมในสินค้าแทบทุกแบรนด์
- ช่องทางที่เข้าถึงคนกลุ่ม Gen X ได้ดี คือ Facebook และ YouTube คิดเป็น 81% และ 71% โดยคนกลุ่มนี้มักจะค้นหาข้อมูลจากยูทูปหรือเลือกซื้อสินค้าจากโฆษณาบน Facebook ธุรกิจที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นชาวเจนเอ็กซ์ต้องไม่ละเลยการทำโฆษณาแบบดั้งเดิมเช่น ไดเรกต์อีเมลหรือป้ายโฆษณาในพื้นที่สาธารณะ
- ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ Gen X สนใจคือ“อาหารเสริม” รายงานจาก International Foundation of Integrated Care พบว่าคนเจเนอเรชันนี้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป สนใจผลิตภัณฆ์ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะกลุ่มวิตามิน A และแคลเซียมเป็นสินค้ายอดนิยมรองลงมากลุ่มพรีไบโอติกส์ที่ช่วยบำรุงเรื่องระบบทางเดินอาหารและการดูและรูปร่าง
มิลเลนเนียลส์ (Millennials) หรือคนที่เกิดในปี 1981- 1996
- ธุรกิจบ้าน / ที่อยู่อาศัย / สินค้าการตกแต่งบ้านและเครื่องใช้ภายในบ้าน ได้รับความนิยมในคนเจนนี้และจะชื่นชอบเฟอร์นิเจอร์สไตล์นอร์ดิกหรือมินิมัลลิสต์แบบญี่ปุ่นมากกว่าการตกแต่งแบบหรูหรา โดย 73% ของคนเจนนี้ติดโซเชียลมีเดีย แต่ก็ยังมีความโดดเดี่ยวอยู่ลึก ๆ ในใจ คนเจนนี้ใช้กิจกรรมวันหยุดโดยการออกไปคาเฟ่ ดำน้ำ ออกเดินทางและตั้งแคมป์
- 77% ของเจนนี้ยังสนใจเรื่องเครื่องดื่มใหม่ๆ ดังนั้นธุรกิจร้านกาแฟหรือร้านชานมไข่มุกและร้านเครื่องดื่มอื่น ๆ ควรให้ความสนใจเจนนี้เป็นพิเศษ
- การทำการตลาดให้เข้าถึงชาวมินเลนเนียลควรเน้นที่การรีวิว เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคของคนเจนนี้มักจะตัดสินใจจากรีวิว จากรูปในอินสตาแกรม หรือคำแนะนำจากเพื่อน การศึกษาพบว่ากว่า 68% ของชาวมิลเลนเนียลจะไม่ตัดสินใจซื้อจนกว่าจะได้ปรึกษาเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจเสียก่อน
เจเนอเรชั่นซี (Gen Z) หรือคนที่เกิดในปี 1997-2012
- กลุ่มเจนซีโตท่ามกลางยุคที่เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีม อินฟลูเอนเซอร์หรือศัพท์สแลงเป็นที่สนใจของคนกลุ่มนี้และเจนนี้ยังให้ความสนใจกับแบรนด์ที่รักสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียมทางเพศ เจนนี้จะสนับสนุนเป็นพิเศษ ส่วนแบรนด์ที่ละเลยเรื่องพวกนี้อาจมีสิทธิถูกคว่ำบาตรได้ กลุ่มเจนซีมักจะสนใจสินค้าหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสินค้าประเภทอาหาร ขนมและเครื่องดื่มที่เป็นกระแสได้รับความนิยมสูงเช่น เครื่องครัวสไตล์มินิมัล เบเกอรีประเภท Plant-Based กลุ่มเจนซีจะให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ คาแรกเตอร์ต้องชัดเจน ทันสมัยไปในทิศทางเดียวกัน
เจเนอเรชั่นอัลฟา (Alpha) หรือคนที่เกิดปี 2012-2024
- เด็กเจนนี้โตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย งานวิจัยพบว่าเด็กเจนนี้เวลาไปกับสมาร์ตโฟนค่อนข้างสูง ส่งผลให้พวกเขาเข้าถึงไลฟ์สไตล์และแฟชันแบบผู้ใหญ่ สินค้าและบริการที่พวกเขาเห็นบนโลกออนไลน์นั้น แม้ส่วนใหญ่จะยังไม่มีกำลังในการซื้อเอง แต่ความเห็นและความต้องการของพวกเขาก็ส่งผลต่อการตัดสินใจของพ่อแม่อย่างมาก
- จากรายงานของ Children Economy Insights เผยว่าเจนอัลฟามีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ปกครอง โดยรายจ่าย 50% ถูกใช้ไปกับอาหาร ของใช้ในครัวเรือนและความบันเทิงสำหรับลูก ซึ่ง 15% เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งสิ้น
หลังจากทราบพฤติกรรมผู้บริโภค 2024 ของนักช้อปออนไลน์
เมื่อเราทราบพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคแต่ละเจนแล้วก็เป็นเรื่องไม่ยากในการวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา จากงานวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุของเจนอาจจะมีความแตกต่างกันแต่ปฏิเศษไม่ได้ว่าความง่าย ความสะดวกสบาย ของช่องทางในการช้อปปิ้งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ อย่างลาซาด้าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ที่มีขั้นตอนการขายที่ง่ายตั้งแต่เริ่มต้นจนมีออเดอร์ ลาซาด้าให้ความสำคัญกับทั้งเรื่องความสะดวก ง่าย ทั้งด้านการซื้อและการขายของฝั่งนักช้อปและนักขาย ใครกำลังหาช่องทางการขายแบบปัง ๆ สมัครขายในลาซาด้าได้เลย อีกทั้งเรายังมีสิทธิ์พิเศษให้ผู้ขายใหม่เพียบอีกด้วย
#ขายของออนไลน์อะไรดี #เทคนิคขายเสื้อผ้าออนไลน์ #ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นขายของออนไลน์
#เทคนิคตั้งชื่อร้านขายของออนไลน์ #วิธีขายดีในLazada Seller Center #HappySellingBlog
สมัครขายในลาซาด้าวันนี้รับเลยสิทธิประโยชน์ 8 ต่อสำหรับผู้ขายใหม่
- 0% ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมนาน 30 วัน
- 0% ค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส นาน 30 วัน
- โปรแกรมขนส่งฟรีพิเศษกับลาซาด้านาน 30 วัน พร้อมสนับสนุนค่าขนส่งสูงสุด 40 บาท
- โปรแกรมเงินคืนทุกวันนาน 30 วัน
- คูปองส่วนลดกระตุ้นยอดขายจากลาซาด้า
- แคมเปญลาซาด้าช่วยไทยสำหรับผู้ขายใหม่ ที่มีการเปิดร้านค้าไม่เกิน 90 วัน
- ทีมงานดูแลร้านค้าแบบพิเศษส่วนตัว เป็นเวลา 90 วันหลังจากสมัครเปิดร้าน และได้รับการอนุมัติเอกสารและลงสินค้าพร้อมขายมากกว่า 3 รายการขึ้นไปนับจากวันที่เปิดร้านค้าไม่เกิน 2 วัน
- ฟรี คอร์สเรียนรู้เทคนิคการขายที่ Lazada University เพื่อให้ร้านค้าไม่พลาดโอกาสในการขายสินค้า และขยายธุรกิจให้เติบโต