7 วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ให้เป็นที่จดจำ

7 วิธีสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ฉบับอัปเดต 2023 Happy Selling Blog เทคนิคขายของออนไลน์ เทรนด์การตลาด เรื่องราวความสำเร็จ เทคนิคขายดี การตลาด ขายของในลาซาด้า ผู้ขายลาซาด้า อัปเดต บทความ สินค้าออนไลน์ต่อเดือน

การสร้างแบรนด์ในความหมายของพี่ ๆ ผู้ขายทุกคนคืออะไร? บทความ 7 วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ให้เป็นที่จดจำ จะพามารู้จักถึงความหมายที่แท้จริงกันดีกว่า การสร้างแบรนด์คือการหาจุดเด่นให้ธุรกิจและสินค้า รวมถึงสามารถสื่อสารให้กลุ่มลูกค้าได้รับรู้และจดจำได้ เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและขาดไปไม่ได้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์โดดเด่น แตกต่างจากคนอื่น และสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นการสื่อสารถึงการมีตัวตนของแบรนด์ให้ลูกค้ารู้ว่าเราอยู่ตรงนี้

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 1 : เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

วิธีสร้างแบรนด์ของเราต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาดหรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Need or Want ของลูกค้า นอกจากเข้าใจความต้องการของตลาดหรือลูกค้า ก็ต้องมีความเข้าใจตัวตนของลูกค้า ทั้งในแง่อุปนิสัยและความคิด รวมถึงปัญหาของตลาดหรือปัญหาของลูกค้าที่สินค้าของเราจะนำไปช่วยแก้ไขได้ อย่างการมีอยู่ของ LazMall ใน Lazada ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางการซื้อขายที่รวบรวมสินค้าแบนด์เนมยี่ห้อต่าง ๆ และเป็นของแท้ 100% เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ชอบช้อปในห้างสรรพสินค้า

ยกตัวอย่างเช่น วิธีสร้างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของร้านกาแฟชื่อดัง

กลุ่มลูกค้า 25 – 40 ปี : รองรับลูกค้าด้วยการปรับเปลี่ยนสถานที่เพื่อให้เข้ากับความชอบของคนกลุ่มนี้

เข้าใจเทคโนโลยีของผู้ใหญ่ : ลงทุนในการสร้างแอปพลิเคชันของตัวแบรนด์เพื่อให้เข้ากับความคิดล้ำหน้าของคนกลุ่มนี้

การทำงานอย่างมืออาชีพ : มีกลุ่มเป้าหมายไปที่กลุ่มคนเมืองเพื่อการทำงานอย่างมืออาชีพในที่ของพวกเขา

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 2 :  มีจุดยืนของแบรนด์และรักษาจุดยืนนั้นไว้

อะไรคือสิ่งที่เราแตกต่างจากธุรกิจหรือสินค้าอื่น ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Unique Selling Proposition เรามีจุดเด่นของสินค้าหรือบริการที่ดึงดูดลูกค้าหรือไม่? หรือเป็นจุดเด่นที่มีแบรนด์ของเราเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้และคู่แข่งไม่มีสิ่งนั้น รวมถึงต้องสื่อสารและแสดงออกถึงจุดยืนของแบรนด์เราได้ชัดเจนและลูกค้าสามารถรับรู้ได้ จากกราฟข้างล่างนี้ อยากให้พี่ ๆ ผู้ขายได้ลองเขียนถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ สิ่งที่แบรนด์ของผู้ขายถนัดและทำได้ดี และสิ่งที่แบรนด์คู่แข่งถนัดและทำได้ดี แล้วจะพบกับ Unique Selling Proposition (USP) ของแบรนด์ของผู้ขายที่สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ต่อไปได้

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 3 :  พัฒนาชื่อแบรนด์และพัฒนาโลโก้ของแบรนด์

ชื่อแบรนด์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ลูกค้าจำได้ ถ้าพี่ ๆ ผู้ขายยังไม่รู้จะตั้งชื่ออะไรดี ขอแนะนำบทความตั้งชื่อขายของออนไลน์ รวมไปถึงโลโก้แบรนด์ก็เป็นอีกช่องทางการสื่อสารที่ดีมาก ลูกค้าควรนึกถึงชื่อหรือไม่ก็โลโก้ของเราได้ ซึ่งชื่อและโลโก้ต้องแสดงถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์และความแตกต่างของแบรนด์ได้อย่างชัดเจนและโดดเด่นมาก ๆ

ยกตัวอย่างเช่น

  • Toyota : วงกลม 3 ห่วงในโลโก้คือสัญลักษณ์แทนหัวใจ 3 ดวง ได้แก่ หัวใจของลูกค้า หัวใจของผลิตภัณฑ์ และหัวใจของความก้าวหน้าในเทคโนโลยี
  • Mitsubishi : โลโก้เป็นการผสมกันระหว่างใบโอ๊ค 3 ใบของตระกูลโทสะกับเพชร 3 เม็ดของตระกูลอิวาซากิ เพชร 3 เม็ดคือสัญลักษณ์ความน่าเชื่อถือ การรวมเป็นหนึ่งและความสำเร็จ ส่วนคำว่า Mitsubishi เมื่อแยกกัน Mitsu แปลว่าสาม ส่วน Hishi ในภาษาญี่ปุ่นจะหมายถึงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปเพชรนั่นเอง
  • Google : โลโก้ของมีทั้งหมด 4 สี ซึ่งหมายถึงความเป็นสากล ต้องการแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ไม่มีกฎเกณฑ์ยุ่งยากและไม่ทำให้โลโก้ดูใหญ่เทอะทะ เพียงเลือกใช้ตัวอักษรกับสีที่เรียบง่ายเท่านั้น
  • Lazada : โลโก้ใหม่ล่าสุดสื่อถึงตัว L ที่มาจากคำว่า Lazada และเป็นรูปทรงคล้ายกล่องพัสดุ นั่นคือหัวใจของธุรกิจลาซาด้านั่น ส่วนสีสันที่เป็นสีส้มและสีชมพู สื่อถึงแหล่งช้อปปิ้งของคนรุ่นใหม่ มีความสดใสและตื่นเต้นกว่าเดิม

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 4 :  ภาพลักษณ์และคำพูดที่แบรนด์สื่อสารออกไป

สี ภาพลักษณ์ คำพูด และสโลแกน ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์จะสื่อสารออกไป ซึ่งจะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้และนึกถึงแบรนด์ได้โดยง่าย สามารถสร้างความคุ้นเคยระหว่างลูกค้าและแบรนด์ของเรา

ยกตัวอย่างเช่น

  • “น้องลาซ” มาสคอตของ Lazada : ในการสื่อสารกับลูกค้าของ Lazada มักจะใช้รูปน้องลาซเพื่อเป็นตัวแทนที่สื่อถึงแบรนด์ ดูมีความขี้เล่นเป็นกันเองและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 5 :  บอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์

ต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่มักจะชอบฟังเรื่องเล่าและถ้าหากเราสามารถใส่เรื่องเล่าเข้าไปในแบรนด์ได้ ก็จะยิ่งสร้างอิมแพคให้ลูกค้าจดจำเราได้ง่ายขึ้น (Storytelling) อาจจะเล่าอดีตของแบรนด์ เล่าเรื่องราวก่อนที่แบรนด์จะมาถึงวันนี้ได้ จะช่วยเชื่อมต่อกับลูกค้าในแง่ของความรู้สึก และอาจมีจุดที่เชื่อมต่อลูกค้ากับแบรนด์ของเราผ่านเรื่องราวได้

ยกตัวอย่างเช่น

  • Google : เริ่มต้นในปี ค.ศ.1995 “แลร์รี่ เพจ” และ “เซอร์เกย์ บริน” เพื่อนคู่ซี้ที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จุดประกายไอเดียสร้างเครื่องมือค้นหาในเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อจัดระเบียบข้อมูลในโลกอินเทอร์เน็ตให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยพวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า Backrub แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อ Google ในภายหลัง และด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจก็ได้สร้างแรงดึงดูดแก่นักวิชาการและนักลงทุน จนในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แลร์รี่และเซอร์เกย์ ได้รับเงินสนับสนุนจาก แอนดี เบ็กโตลไชม์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Sun กว่า 100,000 ดอลลาร์ Google จึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ พวกเขาให้เงินทุนอัปเกรดจากหอพักเล็ก ๆ เป็นออฟฟิศแห่งแรก โดยบริเวณหอพักได้มีโรงจอดรถซึ่งพวกเขาก็ได้ใช้ส่วนนี้เป็นออฟฟิศเช่นกัน ในเขตชานเมืองเมนโลพาร์ก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ของซูซาน โวจ์ซิกกี้

  • KFC : ผู้พันแซนเดอร์ส เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2433 ณ รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ลำบากทำให้เขาต้องทำงานมากมาย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพใดเลย หากใครเจอสถานการณ์แบบนี้เชื่อว่าหลายคนอาจหมดใจจะสู้ต่อ แต่ผู้พันแซนเดอร์สกลับมองเป็นการได้เรียนรู้คุณค่าของการทำงานหนัก พร้อมกับสู้ต่อจนสามารถซื้อปั๊มน้ำมันและคิดค้นสูตรไก่ทอดสุดพิเศษได้เป็นผลสำเร็จ โดยเปิดร้านขายที่รัฐ Kentucky จนใคร ๆ ต่างต้องแวะมากิน แต่เมื่อมีการตัดถนนผ่านร้านอาหารของเขาทำให้เขาสูญเสียทุกอย่างจนคิดจะยอมแพ้ต่อโชคชะตา แต่สุดท้ายด้วยความเป็นนักสู้ ผู้พันแซนเดอร์สลุกขึ้นสู้อีกครั้งจนสามารถก่อตั้ง Kentucky Fried Chicken ได้เป็นผลสำเร็จในวัย 62 ปี และเป็นจุดกำเนิดของร้านเคเอฟซีสาขาแรกของโลกที่รัฐ Kentucky สหรัฐอเมริกานั่นเอง อย่างไรก็ตาม เส้นทางธุรกิจก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน เพราะตอนที่เขาต้องการขยายสาขาของแบรนด์ในรูปแบบแฟรนไชส์ ผู้พันแซนเดอร์สได้นำเสนอหลายที่และถูกปฏิเสธถึง 1,009 ครั้ง ก่อนจะขายร้าน KFC ได้เป็นผลสำเร็จและตั้งตัวเองเป็นภาพจำของแบรนด์ ทำงานทุกวันไม่มีวันเกษียณจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 6 : สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า

คำว่าประสบการณ์ในที่นี้อาจขึ้นอยู่กับการตีความของพี่ ๆ ผู้ขายแต่ละท่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าที่มาเดินห้างสรรพสินค้าให้รู้สึกถึงอากาศเย็นๆ ร้านอาหารให้เลือกมากมาย โรงหนังขนาดใหญ่ หรือร้านค้าในลาซาด้าก็จะมุ่งเน้นไปที่การจัดหน้าร้านค้าให้สวยงาม อัปเดตสินค้าในร้านค้าอยู่เสมอ ตอบแชทลูกค้าไว เป็นต้น อย่างโปรแกรมส่งฟรีพิเศษ (Free Shipping Max) และ ร้านค้าแนะนำของลาซาด้า (LazPick) ก็นับเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี ทำให้ลูกค้าชื่นชอบและให้ความสนใจมากกว่าร้านค้าอื่น ๆ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความนี้

7 สุดยอดเครื่องมือช่วยเพิ่มยอดขายสุดปังในลาซาด้า 2023 Happy Selling Blog เทคนิคขายของออนไลน์ เทรนด์การตลาด เรื่องราวความสำเร็จ เทคนิคขายดี การตลาด ขายของในลาซาด้า ผู้ขายลาซาด้า อัปเดต บทความ สินค้าออนไลน์ต่อเดือน

 

วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ข้อที่ 7 :  R&D (Research and Develop)

ข้อสุดท้ายของ 7 วิธีสร้างแบรนด์ 2024 พยายามเฝ้าสังเกตและเปิดรับฟีดแบคจากลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อรักษาข้อดีและนำข้อเสียมาพัฒนาสินค้าหรือการบริการของร้านค้าเราให้ดียิ่งขึ้นไปในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น Lazada เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ขายที่ให้การสนับสนุนและใช้บริการกับ Lazada มาโดยตลอด

ทิ้งท้ายบทความ 7 วิธีสร้างแบรนด์ 2024 ให้เป็นที่จดจำ

การสร้างแบรนด์ไม่ยากอย่างที่คิด ขอแค่เราตั้งใจลงมือทำและหมั่นอัปเดตข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ แบรนด์หรือธุรกิจของพี่ ๆ ผู้ขายก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน มาเริ่มต้นด้วยการสมัครเปิดร้านกับลาซาด้า สมัครง่ายใน 4 ขั้นตอน ลุยกันเลย! http://bit.ly/3R5Rs9V 

 #ขายของออนไลน์อะไรดี #เทคนิคขายเสื้อผ้าออนไลน์ #ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นขายของออนไลน์ 

#เทคนิคตั้งชื่อร้านขายของออนไลน์ #วิธีขายดีในLazada Seller Center #HappySellingBlog

Happy Selling Blog เทคนิคขายของออนไลน์ เทรนด์การตลาด เรื่องราวความสำเร็จ เทคนิคขายดี การตลาด ขายของในลาซาด้า ผู้ขายลาซาด้า อัปเดต บทความ สินค้าออนไลน์ต่อเดือน

สมัครขายในลาซาด้าวันนี้รับเลยสิทธิประโยชน์ 8 ต่อสำหรับผู้ขายใหม่ 

  • ฟรี! ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! ค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! โปรแกรมส่งฟรีพิเศษ 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! โปรแกรมเงินคืนทุกวัน 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! คูปองกระตุ้นยอดขาย
  • ฟรี! แคมเปญลาซาด้าช่วยไทย
  • ฟรี! ทีมงานดูแลร้านค้าส่วนตัวสูงสุด 90 วัน
  • ฟรี! คอร์สเทคนิคการขายที่ Lazada University

*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทฯ กำหนด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.Lazada.co.th

Loading

1 comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *